วิธีดูแลทำความสะอาดเครื่องขจัดความชื้น

แม้เครื่องขจัดความชื้นในอากาศจะมีส่วนช่วยในการลดความชื้นและกรองอากาศได้ในคราวเดียว แต่เมื่อใช้นานไปอาจเกิดการสะสมของฝุ่นหรือสิ่งสกปรกต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ และถอดปลั๊กหลังการใช้งานทุกครั้ง แต่ทำไมต้องถอดปลั๊ก? หรือทำความสะอาดในส่วนไหนบ้าง? เราจะพาไปทำความเข้าใจ

วิธีดูแลทำความสะอาดเครื่องขจัดความชื้น

ส่วนใหญ่ทำเพื่อยืดอายุการใช้งานและเพิ่มประสิทธิภาพการกรองอากาศหรือขจัดความชื้นได้ดีขึ้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. ถอดปลั๊กเครื่องขจัดความชื้นหลังใช้งานทุกครั้ง

หากมีเหตุจำเป็นให้ต้องออกจากบ้านหรือไม่ใช้งานเครื่องกำจัดความชื้น แนะนำว่าควรปิดเครื่องและถอดปลั๊กทุกครั้งเพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัยและประหยัดพลังงานไฟฟ้า รวมถึงลดการสะสมความร้อน ทั้งในตัวเครื่องและปลั๊กไฟฟ้า เพื่อยืดอายุการใช้งาน

2. ทำความสะอาดตัวกรองถัง

ก่อนทำความสะอาดอย่าลืมถอดปลั๊กเครื่องก่อนทุกครั้ง จากนั้นให้ทำการถอดตัวถังเพื่อขจัดสิ่งสกปรกที่มีขนาดเล็กที่สุด ด้วยการล้างด้วยน้ำอุ่นและตากให้แห้งก่อนนำกลับมาประกอบใหม่

3. ทำความสะอาดแผ่นกรอง

เมื่อใช้ได้นานไปจะมีสิ่งสกปรกสะสมเยอะขึ้น ลดประสิทธิภาพในการขจัดความชื้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอด้วยสบู่หรือเครื่องล้างทำความสะอาดอื่น ๆ เพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรค

4. ทำความสะอาดอ่างเก็บน้ำ

แน่นอนว่ากลไกในการทำงานของเครื่องขจัดความชื้น คือ ช่วยลดความชื้นในอากาศ จากนั้นกลั่นอากาศกลายเป็นหยดน้ำ และปล่อยอากาศร้อนเข้ามาแทนที่ ในขณะที่ความชื้นที่ถูกดูดเข้าไปถูกเปลี่ยนสภาพและปล่อยทิ้งตามท่อน้ำทิ้ง ซึ่งภายในตัวเครื่องมีอ่างเก็บน้ำที่แยกออกจากตัวเครื่อง หากมีการสะสมสิ่งสกปรกอาจลดประสิทธิภาพในการลดความชื้น ดังนั้นจึงควรทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นกรด – เบสแรงเกินไป และขัดเบา ๆ ผึ่งให้แห้งก่อนนำมาประกอบ

5. ทำความสะอาดข้างนอกตัวเครื่อง

ใช้อุปกรณ์ภายในสะอาดยังไม่เพียงพอ ด้านนอกตัวเครื่องก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะปล่อยให้สกปรกไม่ได้ เพราะหากมีเชื้อโรคหรือแบคทีเรียสะสม นั่นเท่ากับว่าภายในห้องหรือสถานที่ที่มีการจัดวางเครื่องขจัดความชื้นไม่เหมาะต่อการใช้งาน

เป็นอย่างไรกันบ้างกับวิธีดูแลทำความสะอาดเครื่องขจัดความชื้น บอกเลยว่าง่าย เพียงเลือกทำความสะอาดด้วยสบู่อ่อน ๆ เพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคที่สะสมอยู่ตามซอกต่าง ๆ แต่สำหรับใครที่ไม่เคยทำความสะอาดมาก่อน ขอแนะนำว่าควรทำความเข้าใจส่วนประกอบให้ดีเสียก่อนว่าอะไรเป็นอะไร ส่วนไหนเป็นส่วนไหน รวมไปถึงวิธีการถอดและวิธีการประกอบ เมื่อถึงเวลาทำความสะอาดแล้วจะได้ไม่ยุ่งยาก

Tags: